การผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูง

หลักการการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูง
1) การผลิตเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเลือกใช้ควรเป็นพันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม และได้จากแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ เช่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกรมการข้าว, ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ชุมชน เพราะเกษตรกรจะได้รู้ว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ในชั้นใด

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าวมี 4 ชั้นพันธุ์
1. พันธุ์คัด เป็นแม่พันธุ์ของกรมการข้าว
2. พันธุ์หลัก ได้จากผลผลิตของพันธุ์คัด
3. พันธุ์ขยาย ได้จากผลผลิตของพันธุ์หลักติดป้ายที่กระสอบสีชมพู ใช้ทำพันธุ์ได้ 3 ปี
4. พันธุ์จำหน่าย ได้จากผลผลิตของพันธุ์ขยายติดป้ายที่กระสอบสีฟ้าใช้ทำพันธุ์ได้ 2 ปี ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์จำหน่ายเกิน 2 ปี จะทำให้ข้าวสูงต่ำไม่เท่ากัน และออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้เก็บ เกี่ยวยากลำบากจะทำให้ผลผลิตต่ำ

2) การเตรียมดิน เกษตรกรจะต้องปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ใช้รถไถจอบหมุน ประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วแต่พื้นที่ดินจะปรับพื้นที่ยากหรือง่าย เกษตรกรควรทำร่องระบายน้ำในแปลงระหว่างร่อง
ไม่ควรเกิน 4 เมตร เพื่อสะดวกในการเดินหว่านปุ๋ย, พ่นยา

ขั้นตอนการผลิตข้าวตั้งแต่วันที่ 1-120 วัน ควรมีขั้นตอนดังนี้
- นำเมล็ดพันธุ์ที่จะหว่าน 25-30 กิโลกรัม/ไร่ แช่น้ำ 1 คืน แล้วนำมาผึ่งในร่มเอา ภาชนะที่ถ่ายเท น้ำได้ รองพื้นด้านล่างกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้หนาประมาณ 4-5 นิ้ว นำกระสอบป่าน ชุบน้ำคลุม ให้เกิดความอบอุ่นป้องกันข้าวคลายความชื้น เป็นเวลา 2 วัน จะทำให้เมล็ดพันธุ์งอกพร้อม กันทุกเมล็ด นำไปหว่านข้าวจะเจริญเติบโตพร้อมกันและเสมอกัน

ขั้นตอนหลังหว่านข้าวได้ 7 วัน เกษตรกรจะทำการฉีดยาคุมหญ้า และต้องตรวจดูแปลงว่ามีศัตรูพืชอะไรมารบกวนข้าว ทุก ๆ 7 วันต่อไป ในการปลูกข้าวเกษตรกรจะต้องลงแปลงข้าวตรวจสอบว่ามีศัตรูหรือโรคแมลง ถ้ามี โรคแมลงให้รีบแก้ไข ถ้าไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขอย่างไร ให้ปรึกษานักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำ ตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ได้ในเวลาราชการ
ขั้นตอนหลังหว่านข้าวได้ 14 วัน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ไร่ละ 50 กิโลกรัม เพื่อให้รากข้าวที่ดิ่งลงล่างลอยตัวขึ้นมา กินอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์ ควรตรวจแปลงด้วย ถ้ามีหญ้าก็ควรถอนทำลาย
ขั้นตอนการปลูกข้าวได้ 25 วัน หลังจากการปลูกข้าวได้ 23 วัน ข้าวจะสลัดใบเลี้ยงทิ้งระบบรากของข้าวจะมีความ สมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะรับอาหารเต็มที่ วันที่ 25 ควรใส่ปุ๋ยเม็ด ถ้าดินเป็นสภาพดินเหนียว ควรใส่ ปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่ ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ เช่นกัน เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงทุก ๆ 7 วัน
ขั้นตอนข้าวท้องอายุ 50-55 วัน ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 10 กิโลกรัม ถ้าพบแมลงสิงให้นำปูหรือเนื้อสัตว์เน่า ๆ ใส่ยาแลนเนท ปักให้รอบแปลง แมลงสิงจะไปกินแล้วตายในที่สุด
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว 110-120 วัน 1. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะที่เหมาะสม หรือระยะพลับพลึงเป็นระยะที่ข้าวสุกแก่พอเหมาะ ทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง สีได้ต้นข้าวมีปริมาณมากและมีคุณภาพดี 2. วิธีเก็บเกี่ยว ก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยว 10 วัน ควรระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกันแล้วจึงเก็บเกี่ยวหากต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง หากเก็บเกี่ยวด้วยรถโมบาย และไม่สามารถล้างเครื่อง เกี่ยวได้ให้เลือกแปลงไว้ทำพันธุ์เก็บเกี่ยวเป็นแปลงสุดท้าย

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
1. การตากความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก หลังเก็บเกี่ยวแล้ว (ด้วยรถโมบาย) ไม่ควรเก็บเมล็ดข้าวไว้ นานเกิน12 ชั่วโมง เนื่องจากในเมล็ดมีความชื้นสูง จะทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้เมล็ดมีชีวิตสั้นลง การตากโดยการตากข้าวในลานตาก เช่น ลานซีเมนต์ที่มีผ้าลี่รองตากไม่ควรตากกับพื้นซีเมนต์โดยตรง เพราะในเวลากลางวันแดดร้อนจัด จะทำให้เมล็ดข้าวคลายความร้อนเร็วเกินไป ทำให้เมล็ดข้าวหักง่าย เมื่อนำไปสี หรือการมีชีวิตของเมล็ดสั้นลงเมื่อนำไปใช้ทำพันธุ์ และความชื้นที่เหมาะสมสำหรับสีเป็น ข้าวสารประมาณ 14% และสำหรับทำเมล็ดพันธุ์ความชื้นไม่เกิน 12%

2. การเก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือก หลังจากตากลดความชื้นแล้ว เก็บเมล็ดข้าวในกระสอบที่มี รูพรุนอากาศถ่ายเทได้ เช่น กระสอบปอ ป่าน กระสอบพลาสติกสาน เป็นต้น หรือภาชนะสาน เช่น ชลอม การวางเรียงซ้อนกันของภาชนะบรรจุไม่ควรวางสูงมากนัก เพื่อการระบายอากาศ ทำให้สามารถ เก็บเมล็ดข้าวเปลือกได้นาน เช่น เพื่อการทำพันธุ์ในฤดูต่อไป ส่วนสถานที่เก็บควรเป็นสถานที่ ที่อากาศ ถ่ายเทได้ดี ปราศจากศัตรูรบกวน เช่น หนู นก แมลง ศัตรู ในโรงเก็บและไม่ควรเก็บเมล็ดข้าวให้ใกล้ กับปุ๋ยเคมี หรือใกล้ความชื้นอื่น ๆ

โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
โรคเมล็ดด่าง
- สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
- ลักษณะอาการ ในระยะออกรวงพบแผลจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าวบางส่วนมีลายสีน้ำตาลดำ และ บางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราสาเหตุหลายชนิดที่สามารถทำลายและทำให้เกิดอาการต่าง กันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดเป็น น้ำนม
การแพร่ระบาด
เชื้อราสาเหตุสามารถแพร่กระจายไปกับลมติดไปกับเมล็ดในยุ้งฉาง

การป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น กข 9 , สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90, พิษณุโลก 2, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ คาร์เบนดาซิม แมนโคเซน อัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ด พันธุ์ 1 กก.
- ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง หรือแผลสี
น้ำตาลดำที่กาบใบธงให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรพิโคนาโซล+ไดฟิโนโคนาโซล โปรพิโค นาโซล+โพคลอราซัล คาร์เบนดาซิม+อิพ๊อกซี่โคนาโซล พลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคอลราซัล+ คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ+ไทโอฟาเนตเมทิล ตามอัตราการใช้ที่ระบุ

โรคไหม้
- สาเหตุ เกิดจาเชื้อรา
- ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ใบมีแผลจุดน้ำตาลคล้ายรูปตามีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณ ใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตายคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบและข้อของลำต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่ พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณที่ต่อใบ จะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและใบมัก หลุดจากกาบใบ
ระยะคอรวง ถ้าต้นข้าวเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราทำลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเป็นโรคในระยะ รวงข้าวใกล้เก็บเกี่ยวจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวงทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่น เสียหายมาก
การแพร่ระบาด
พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่นทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง มีสภาพแห้ง
ในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซล เซียส ลมจะช่วยให้โรคระบาดแพร่กระจายได้ดี
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทานโรค กข 1, กข 9, กข 11, กข 21, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1, ปราจีนบุรี 1, พลายงาม, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง, พิษณุโลก 1, สุรินทร์ 1, สันป่าตอง 1, หางหยี 71, กู้เมืองหลวง, ขาวโปร่งไคร้, น้ำรู, ดอกพะยอม
- หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม 15-20 กก. ต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเท อากาศดี และไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าถึง 50 กก. ต่อไร่ โรคไหม้จะระบาดอย่างรวดเร็ว
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม โปรคลอลาส ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบโรคไหม้ทั่วไปร้อยละ 5 ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่น สารป้องกัน เช่น คาซูกะมัยซิน อิดิเฟนฟอส ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไซโอเลน คาร์เบน ดาซิม ตามอัตราการใช้ที่ระบุ

โรคกาบใบแห้ง
- สาเหตุ เกิดจาเชื้อรา
- ลักษณะอาการ
เริ่มพบโรคในระยะข้าวแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งแตกกอมากเท่าใดก็จะเป็นรุนแง ลักษณะแผลมีสีเขียวปนเทาขนาดประมาณ 1-4 มม. ปรากฏตามกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผล จะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอแผล สามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้งผลผลิตจะลดลงอย่างมาก
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์อยู่ได้นายในดินและตอซังหรือวัชพืชในนาตามคัน
นา และมีชีวิตข้ามฤดู หมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา
การป้องกันกำจัด
- หลังเกี่ยวข้าว ควรไถหน้าดินตากแดดเพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์เชื้อรา
- กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำเพื่อลดการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุ
ของโรค
- ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซันฟิสิล (แบคทีเรีย ปฏิปักษ์) ตามอัตราระบุ
- ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โบรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน หรืออิดิเฟนฟอส
ตามอัตราที่ระบุโดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาดไม่จำเป็นต้องพ่นทั้ง แปลงนา เพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ

โรคขอบใบแห้ง
- สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ลักษณะอาการ
โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะล้าแตกกอจนถึงออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็ก ๆ ลักษณะ ช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำจะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่ เป็นโรคจะแห้งเร็ว ใบที่เป็นโรคขอบใบมีรอยขีดช้ำเป็นสีเหลืองที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนแผล เมื่อนานไปใบจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาวและเชื้อโรคจะเข้าทำลายท่อน้ำ ท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาตายโดยรวดเร็ว อาการโรคนี้เรียกว่า ครีเสก
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดติดไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ในสภาพที่มีฝนตก ลมพัด
แรง จะช่วยให้โรคระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น กข 5, กข 7, กข 23, สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90, สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี 2
- ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุมสมบูรณ์อยู่แล้ว
- ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
- ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105
กข 6, เหนียวสันป่าตอง, พิษณุโลก 2 ในกรณีที่ปลูกข้าวพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรค ในระยะเวลาที่เหมาะ สมตามคำแนะนำของนักวิชาการ ควรเฝ้าระวังการเกิดโรค และใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สเต็บ โตมัยซินซัลเฟต+ออกชีเตทตราไซคลิน ไฮโดรคลอร์ไรด์ หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือ ไอโซ โพรไทโอเลน เมื่อเริ่มพบอาการของโรคบนใบข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีก ยาว และปีกสั้น ชนิดมีปีกยาว สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพใบในระยะทางไกลโดยอาศัยกระแสลม ช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ เป็นกลุ่มส่วนใหญ่จะวางไข่ที่กาบใบหรือเส้นกลางใบ บริเวณที่วางไข่ จะมีรอยช้ำสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัว เต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาววางไข่ประมาณ 100 ฟอง ชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ในหนึ่งฤดู กาลปลูกข้าว เพลี้ยกระโดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูด กินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ระดับเหนือผิวน้ำทำให้ต้นข้าวมีอาการเหลืองแห้งคล้ายน้ำร้อนลวก นอกจากนี้ ยังมีพาหนะของโรคใบหงิก (จู๋)
การป้องกันกำจัด
- โดยชีววิธีมีตัวห้ำ ตัวเบียนและเชื้อโรคเข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโด
สีน้ำตาล
- การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวหรือช่วงที่
อพยพเข้านาข้าวใหม่ ๆ ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลายและสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง

แมลงบั่ว
ตัวเต็มวัยจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้าหรือช่วง 25-30 วัน ทำลายยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม
การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และ
หญ้านกสีชมพู ก่อนแตกกอหรือหว่านข้าว เพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลบั่ว  ภาคเหนือ ควรปลูกข้าวหรือปักดำช่วงที่ 15 กรกฎาคม-สิงหาคม หรือปรับวิธีโดยการปักดำ 2 เพื่อลดความรุนแรงที่เกิดจากการทำลายของแมลงบั่ว หลังปักดำจนถึงข้าวอายุ 45 วัน ส่วนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกระหว่างเดือน กันยายน - 15 กรกฎาคม
- ภาคเหนือไม่ควรปลูกข้าวโดยวิธีหว่านหรือปักดำถี่ (ระยะปักดำ 1015 และ 1515 ซม.)
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการระบาดของแมลงบั่วเป็นประจำ  ทำลายตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นแสงไฟตามบ้านช่วงเวลาตั้งแต่ 19 : 00 – 21 : 00 น. โดยใช้ไม้ตี แมลงวัน
- ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงใด ๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงบั่วเนื่องจากไม่ได้และยังทำลายศัตรูธรรมชาติ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรอำเภอคีรีมาศ
เบอร์โทรศัพท์: 0-5562-7105 เบอร์แฟกซ์: ---
หมู่ที่ 1 ตำบลโตนด คีรีมาศ สุโขทัย ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay